กระบวนการผลิตชา

กระบวนการผลิตชา การแปรรูปชาเขียว ชาอู่หลง ชาดำ

กระบวนการผลิตชา การแปรรูปชา นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประเภทของใบชา รสชาติของชาที่ได้รับ ในการผลิตชาจะต้องอาศัยความพิถีพิถันอย่างมากในทุกขั้นตอนกระบวนการผลิต วันนี้โรงงานบลูมอคค่า เราในฐานะผู้ประกอบการที่นำเข้าใบชา รับผลิตชา และจำหน่ายผงชาเมล็ดกาแฟทั้งค้าปลีกค้าส่ง ก็ไม่พลาดที่จะมาแบ่งปันข้อมูลควรรู้กัน 

Advertisements

บลูมอคค่าเรามาชวนทำความรู้จักชากันก่อน โดย “ชา” เป็นผลผลิตทางธรรมชาติจากต้นชา ที่นำมาผ่านกระบวนการแปรรูปที่หลากหลาย  ทั้งนี้ชายังรวมถึงผลผลิตจากพืชสมุนไพร และดอกไม้อบแห้งอีกด้วย โดยจะนิยมนำมาชงกับน้ำร้อน และ “ชา” ยังเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมอันดับ 2 ของโลกรองจากน้ำที่ผู้คนนิยมดื่มนั่นเอง  

 “ชา” (Tea) คือผลผลิตที่ได้จากต้นชา ในสกุล Camellia sinensis โดยจะเลือกใช้เฉพาะยอดชา ใบอ่อนและก้านอ่อน นำมาผ่านการแปรรูป ซึ่งในแต่ละกระบวนการแปรรูปนั้นจะส่งผลต่อการผลิตใบชาที่ต่างชนิดกัน พร้อมแล้วมาดูกันเลยว่าชา มีกระบวนการแปรรูปอย่างไร แล้วมีชนิดของชาอะไรกันบ้าง   

อ่านเพิ่มเติม

กระบวนการผลิตชา

การแปรรูปใบชา 

  • การเก็บใบชา (Tea plucking)

ขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก จะต้องอาศัยความพิถีพิถันในการเก็บเพื่อทำการคัดสรรยอดชาที่มีคุณภาพ โดยจะต้องเลือกเก็บเฉพาะยอดชาที่ตูม และใบชา 2-3 ใบที่ต่ำกว่ายอดตูมลงมา เนื่องจากสาร polyphenols จะพบมากที่สุดในส่วนของยอดชา    

  • การทำให้ใบแห้ง (Withering)

การทำให้ใบชาแห้ง หรือที่เรียกว่าการ “ผึ่งชา”   เป็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารต่าง ๆ ในใบชา โดยจะนำใบชาที่ได้มาทำการผึ่งให้แห้งในที่อุณหภูมิห้อง เพื่อทำให้น้ำในใบชาระเหย 50-60%  ทำให้ใบชาเร่ิมเหี่ยวเฉาและมีการซึมผ่านของสารต่าง ๆ จนเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้ใบชาเริ่มเปลี่ยนสี มีกลิ่น และรสชาติต่างจากเดิม 

  • การนึ่งชา (Steaming) หรือการคั่วชา (Pan firing)    

หลังจากที่ทำการผึ่งชาเพื่อให้น้ำในใบชาระเหยออกไปแล้ว จากนั้นใบชาจะถูกนำมาคั่วด้วยเครื่องคั่วชา จนเกิดความร้อนเพื่อให้ใบชาหยุดปฏิกิริยาในการหมัก

Advertisements
  • การนวดชา (Rolling)

ขั้นตอนนี้จะเป็นการทำให้ใบชาถูกนวด ถูกขยี้ หรือถูกหมุนกลิ้งเพื่อให้เซลล์ของใบชาแตก โดยสารที่อยู่ในเซลล์จะถูกปลดปล่อยออกมาเพื่อมาเคลือบอยู่บนส่วนต่าง ๆ ของใบชา ทำให้ใบชามีกลิ่นหอมชัดเจนขึ้น 

  • การหมัก (Fermentation)

เมื่อทำการนวดชาจนใบชาเริ่มมีกลิ่นหอมแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการหมักชาเป็นกระบวนการทางเคมีที่ออกซิเจนถูกดูดซึม เพื่อปลดปล่อยเอนไซม์ที่ทำปฏิกิริยากับอากาศ ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ทำให้ชาเกิดกลิ่น สี และรสชาติที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในใบชา และเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่ว่าจะเป็นกระบวนการสู่การผลิตใบชาชนิดใดนั่นเอง 

  • การอบใบชาให้แห้ง (Drying)

เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะผลิตใบชาชนิดใดจากขั้นตอนการหมักชา จากนั้นใบชาก็จะถูกนำมาอบให้แห้งเสมอกัน ซึ่งจะใช้ความร้อนอยู่ที่ 100-200 องศาฟาเรนไฮต์  โดยจะทำให้ความชื้นในใบชาเหลือเพียงแค่ 5% เพื่อให้สามารถเก็บใบชาไว้ได้นาน  

  • การแบ่งระดับและคัดบรรจุ

เป็นขั้นตอนในการแบ่งระดับใบ โดยจะใช้เครื่องร่อนหรือตะแกรงร่อนในการแยกชา และทำการคัดเลือกเศษกิ่งก้าน สิ่งเจือปนต่าง ๆ ออกจากใบชา แล้วทำการบรรจุใบชา   

ต้องบอกเลยว่ากว่าจะได้ใบชาสำหรับนำมาชงดื่มนั้น ต้องผ่านการแปรูปหลายขั้นตอน ที่มีความพิถีพิถันอย่างมาก และในขั้นตอนการหมักนั้นจะเป็นขั้นตอนที่ตัดสินว่าจะทำการผลิตใบชาชนิดใดต่อไปนั่นเอง โดยใบชาที่นิยมกันมากที่สุด ก็คือ ชาขาว ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ  แล้วกระบวนการผลิตใบชาแต่ละชนิดนี้ต่างกันอย่างไร วันนี้เราก็มีคำตอบมาแบ่งปันกัน 

กระบวนการผลิตชา

กระบวนการผลิตชา 

  • ชาขาว (White Tea)
กระบวนการผลิตชา

ชาชาวมีขั้นตอนการผลิตที่สั้นที่สุด โดยจะนำยอดชาที่ได้มาทำให้แห้งในระยะเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีธรรมชาติในการผึ่งให้แห้ง และการทำให้โดนความร้อน จะต้องไม่ผ่านกระบวนการนวด และไม่ผ่านกระบวนการหมัก จึงทำให้ใบชายังคงสีเขียวอยู่  แถมยังมีคุณประโยชน์อยู่มากมาย 

Advertisements

ชาเขียว ชาที่ผู้คนนิยมดื่มกันมาก เป็นใบชาที่จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก และใช้เวลาไม่นานในการผลิตเช่นกัน โดยจะเริ่มต้นด้วยการคัดสรรยอดชา แล้วนำใบชามาอบไอน้ำ หรือคั่วด้วยกระทะร้อน เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์  จากนั้นนำไปนวดและทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว โดยที่จะไม่ผ่านกระบวนการหมัก ยังทำให้ใบชายังคงสีเขียวอยู่ จะได้น้ำชาสีเขียวอมเหลือง และคงคุณประโยชน์ไว้อยู่ ซึ่งเป็นชนิดใบชาที่นิยมนำมาทำเครื่องดื่มแบบสำเร็จรูป หรือเมนูเครื่องดื่มในปัจจุบัน 

  • ชาอู่หลง (Oolong Tea)

อีกหนึ่งใบชาที่ถูกนำมาทำเป็นเมนูชาต่าง ๆ ที่เริ่มต้นด้วยการเก็บยอดชา แล้วนำมาผึ่งแดดให้แห้งโดยจะใช้เวลาประมาณ 20-40 นาที เพื่อให้ใบชาระเหยน้ำ แล้วจะถูกนำมาผึ่งในร่มอีกครั้งพร้อมกับต้องเขย่าใบชาเพื่อให้เกิดการกระตุ้น ซึ่งการผึ่งในร่มนี้จะทำให้เกิดการหมักบางส่วน หรือที่เรียกว่า “กึ่งหมัก” และเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ที่ทำให้เกิดสี กลิ่น และรสชาติที่ต่างออกไปจากชาเขียว  จากนั้นจะนำมาผ่านความร้อนด้วยการคั่วเพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ แล้วทำการนวดใบชาจนขึ้นรูปทรงเป็นเม็ด แล้วทำการอบใบชาให้แห้งอีกครั้ง เท่านี้ก็จะได้ชาอู่หลง และจะได้น้ำชาที่ออกสีเหลืองอมน้ำตาล 

  • ชาดำ (Black Tea)
กระบวนการผลิตชา

ใบชาที่ใช้เวลาในการผลิตนานที่สุด โดยหลังจากที่เก็บยอดชาแล้ว จะถูกนำมาผึ่งแดดเพื่อลดความชื้นให้น้ำระเหยออกจากใบชา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 16-18 ชั่วโมง จากนั้นใบชาจะถูกนำมานวดเพื่อให้ใบชาเกิดการกระตุ้นปล่อยสารที่มีอยู่ออกมา จนเกิดการหมักอย่างสมบูรณ์แบบที่จะใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง และเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีทำให้ใบชาเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เมื่อใบชาเริ่มเปลี่ยนสีก็จะถูกนำมาคั่วจนแห้งถึง 80%  จะทำให้ได้ใบชาสีน้ำตาลดำ มีรสชาติเข้มข้นที่สุด และมีคาเฟอีนเยอะที่สุดในบรรดาชา

โดยใบชาแต่ละชนิดที่กล่าวมาข้างต้น จะมีกลิ่น สี และรสชาติที่แตกต่างกันออกไป ที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ๆ 2 ปัจจัย คือ องค์ประกอบทางเคมีของใบชา ที่ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ชา แหล่งเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม และกระบวนการแปรรูปใบชานั่นเอง 

สำหรับใครที่กำลังมองหาผงชาในการชงเครื่องดื่ม โรงคั่วชาบลูมอคค่า ชานกฮูก เราก็มีสินค้าผงชาเมล็ดกาแฟให้ได้เลือกกันมากกว่า 30 รายการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าผงชาเขียว ผงชาไทย ผงชาไต้หวัน ผงชาดำ เมล็ดกาแฟ และสินค้าอื่น ๆ สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์คลิก ไม่เพียงเท่านี้โรงงานบลูมอคค่า เรายังมีบริการนำเข้าผงชา ส่งออกผงชา และรับผลิตชา OEM&ODM  แบบครบวงจร  รับสร้างแบรนด์ชา รับผลิตชาให้กับแฟรนไชส์  ตลอดจนไปถึงบริการผลิตชาสำหรับแบรนด์ชาไปต่างประเทศ เราพร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้น ดูแลตลอดกระบวนการผลิต ตลอดจนกว่าจะจัดส่งสินค้าถึงมือคุณ

Similar Posts